จดทะเบียนธนาคารหมู่บ้านเครือข่าย พร้อมประชุมใหญ่วิสามัญ และจ่ายเงินปันผล
จดทะเบียนธนาคารหมู่บ้านเครือข่าย พร้อมประชุมใหญ่วิสามัญ และจ่ายเงินปันผล
เมื่อวันที่ 25-27 ก.พ. 2565 ที่ผ่านมาที่ห้องประชุมธนาคารหมู่บ้านสาขาบ้านน้ำทวน ต.นาบัว อ.นครไทย จ.พิษณุโลก จัดประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 1 โดยมีนายไพจิตร ผิวพรรณ เลขาธิการ /ผู้ตรวจสอบสมาคม สมาคมนักพัฒนาหมู่บ้านแห่งประเทศไทย /ศูนย์เครือข่ายธนาคารหมู่บ้านตามแนวพระราชดำริแห่งประเทศไทย เป็นประธาน
ธนาคารหมู่บ้านได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2532 ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ในการพระราชทานแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจความยากจนของคนในชนบทต่อไปอย่างยั่งยืน
การเรียกประชุมครั้งนี้เพื่อขึ้นทะเบียนเครือข่ายสาขาและชี้แจงปัญหาที่ผ่านมาเมื่อปีที่แล้ว 2564 พร้อมกับจ่ายเงินปั่นผลแก่สมาชิกจำนวน 3,500 คน มีธนาคารหมู่บ้านที่เข้าร่วมประชุม จำนวน 23 สาขา ทั้งหมดที่จัดตั้งขึ้นตามภาคต่าง ๆ คือภาคเหนือ3 แห่ง, ภาคกลาง 23 แห่ง ,ภาคอีสาน 15 แห่งและภาคใต้ 4 แห่ง
ทั้งนี้ธนาคารหมู่บ้านสาขาบ้านน้ำทวน ต.นาบัว อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ยังได้จัดประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี 2565 ครั้งที่ 1 พรอมกับจ่ายเงินปั่นผลแก่สมาชิกจำนวน 3,500 คน พร้อมกับขึ้นทะเบียนเครือข่ายสาขา ที่ จ.พิษณุโลก มีธนาคารฯทั้งหมด 25 สาขา ซึ่งทั้งหมดมีอยู่ทั่วประเทศจำนวน 45 สาขาในแต่ละภาค
นายไพจิตร ผิวพรรณ เลขาธิการ / ผู้ตรวจสอบ ของสมาคมนักพัฒนาหมู่บ้านแห่งประเทศไทย และศูนย์เครือข่ายธนาคารหมู่บ้านตามแนวพระราชดำริแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทางสมาคม ร่วมกับศูนย์เครือข่ายสาขาทั่วประเทศได้พัฒนาองค์กรขึ้นเป็น “สถาบันการเงิน” และธนาคารหมู่บ้าน ตรมแนวพระราชดำริ ร.9 อย่างเต็มรูปแบบ หลังก่อตั้งมาเมื่อปี 2532 - 2565 เป็นเวลา 33 ปี เพื่อก้าวสู่ธนาคารเต็มรูปแบบและขึ้นทะเบียนกับสมาคมฯศูนย์เครือข่าย ฯให้เป็นองค์กรเดียวกันอย่างแท้จริงและร่วมเดินทางไปสู่อนาคตอย่างเข้มแข็งอย่างมีระเบียบ ให้เกิดเป็นระบบ อย่างสมบูรณ์แบบอย่างยั่งยืนตลอดไป
เหตุที่เลือกเอาที่ จ.พิษณุโลก เป็นแห่งแรกในการเรียกประชุมสาขาธนาคาร กรรมการและสมาชิกก่อนเนื่องจากมีการร้องเรียนถึงความไม่โปร่งใสและได้แก้ไขปัญหาแล้ว สมาชิกและกรรมการได้เข้าใจเป็นอย่างดีในทิศทางของธนาคารหมู่บ้านตามแนวพระราชดำริ โดยได้น้อมนำเอาพระราชดำริ ตามรอยเบื้องพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมพระเทพรัตนราชสุดา ฯสยามบรมรากุมารี ในการพระราชทานแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจความยากจนของคนในชนบทอย่างยั่งยืนต่อไป.