อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย จัดงานเทศกาลกล้วยน้ำว้าอำเภอสังคม ประจำปี 2567 เพื่อเป็นการให้ความรู้ทางด้านวิชาการแก่เกษตรกร เป็นการประชาสัมพันธ์พืชเศรษฐกิจของอำเภอสังคม เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับประชาชน อีกทั้งเพื่อเป็นการต่อยอดนวัตกรรมกล้วยน้ำว้าที่เป็น “สัญลักษณ์” และ “อัตลักษณ์” ของอำเภอสังคมให้คงอยู่สืบไป

อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย จัดงานเทศกาลกล้วยน้ำว้าอำเภอสังคม ประจำปี 2567 เพื่อเป็นการให้ความรู้ทางด้านวิชาการแก่เกษตรกร เป็นการประชาสัมพันธ์พืชเศรษฐกิจของอำเภอสังคม เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับประชาชน อีกทั้งเพื่อเป็นการต่อยอดนวัตกรรมกล้วยน้ำว้าที่เป็น สัญลักษณ์และ อัตลักษณ์ของอำเภอสังคมให้คงอยู่สืบไป

เมื่อเวลา 16.20 น. วันนี้ (25 ธันวาคม 2567) ณ บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย นายจำลักษ์ กันเพ็ชร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานในพิธีเปิดงานเทศกาลกล้วยน้ำว้าอำเภอสังคม ประจำปี 2567 ที่อำเภอสังคม ร่วมกับทุกภาคส่วนในอำเภอสังคมจัดให้มีขึ้น พร้อมมอบรางวัลชนะเลิศให้กับการแข่งขันประเภทต่าง ๆ

 

นายสมควร ใจซื่อ นายอำเภอสังคม กล่าวว่า ในอดีตที่ผ่านมา อำเภอสังคมเป็นพื้นที่ ที่มีการปลูกกล้วยน้ำว้ามากที่สุดของจังหวัดหนองคาย กล้วยน้ำว้าจึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูก มีพื้นที่ปลูกกล้วยประมาณ 3,600 ไร่ ส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาส่งเสริมและให้ความรู้ทางด้านวิชาการ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพ ตลอดจนการแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยให้มีความหลากหลายเป็นที่ต้องการของตลาด เป็นการเพิ่มมูลค่ารายได้และคุณค่าทางด้านโภชนาการ ต่อยอดเป็นนวัตกรรมที่โดดเด่นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนจนกลายเป็น สัญลักษณ์และ อัตลักษณ์ของอำเภอมาจนถึงปัจจุบัน จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ส่วนราชการ หน่วยงาน และประชาชนชาวอำเภอสังคมทุกภาคส่วน จึงได้จัดงานเทศกาลกล้วยน้ำว้าอำเภอสังคมขึ้นครั้งแรกในปี 2545 และดำเนินการจัดงานต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเป็นการให้ความรู้ทางด้านวิชาการแก่เกษตรกร เป็นการประชาสัมพันธ์พืชเศรษฐกิจของอำเภอสังคม เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับประชาชน อีกทั้งเพื่อเป็นการต่อยอดนวัตกรรมกล้วยน้ำว้าที่เป็น สัญลักษณ์และ อัตลักษณ์ของอำเภอสังคมให้คงอยู่สืบไป ซึ่งกล้วยตากอำเภอสังคมได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) แห่งแรกของประเทศ

 

กิจกรรมสำคัญภายในงานฯ ได้แก่ การจัดขบวนแห่ประดับตกแต่งด้วยกล้วยและผลิตผลทางการเกษตรทุกตำบล จำนวน 6 ขบวน , การแข่งขันเซียนกล้วยอำเภอสังคม , การแข่งขันตำกล้วยลีลาอำเภอสังคม และการจัดซุ้มนิทรรศการแสดงผลผลิตจากกล้วย ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยตลอดจนพืชผลการเกษตร.

 

กลับ กลับหน้าหลัก



ติดต่อเรา

Copyright © 2016 nongkhainewsonline : ข่าวออนไลน์หนองคาย