โศกนาฎกรรมไฟไหม้ “ซานติก้าผับ” ปี 2552 สู่ ไฟไหม้ผับชลบุรี "เมาท์เทน บี" ปี 2565 คืนมรณะคร่าชีวิตนักเที่ยว กว่า 13 ศพ เครือข่ายสื่อมวลชนตรวจสอบสถานบันเทิงจังหวัดหนองคายพบเกือบ 90% ไม่มีป้ายบอกทางหนีไฟ ระบบแจ้งเตือนไฟไหม้ และไม่มีระบบดับเพลิงอัตโนมัติ สุดอึ้ง!! บางแห่งทางหนีไฟมีทางออกเพียงทางเดียวคือทางเข้าเท่านั้น รวมทั้งการเปิดเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด จี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดระเบียบเพื่อป้องกันเหตุและทำให้ถูกกฎหมาย

โศกนาฎกรรมไฟไหม้ “ซานติก้าผับ” ปี 2552 สู่ ไฟไหม้ผับชลบุรี "เมาท์เทน บี" ปี 2565 คืนมรณะคร่าชีวิตนักเที่ยว กว่า 13 ศพ เครือข่ายสื่อมวลชนตรวจสอบสถานบันเทิงจังหวัดหนองคายพบเกือบ 90% ไม่มีป้ายบอกทางหนีไฟ ระบบแจ้งเตือนไฟไหม้ และไม่มีระบบดับเพลิงอัตโนมัติ สุดอึ้ง!! บางแห่งทางหนีไฟมีทางออกเพียงทางเดียวคือทางเข้าเท่านั้น รวมทั้งการเปิดเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด จี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดระเบียบเพื่อป้องกันเหตุและทำให้ถูกกฎหมาย

ไฟไหม้สถานบันเทิงชื่อดัง “เมาท์เท่น บีผับ (MOUNTAIN B) ริมถนนสาย สุขุมวิทบางนา-ตราด ม.7 ต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี กลางดึก (01.25น.) ของวันที่ 5 สิงหาคม 2565 มีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก และเสียชีวิต 13 ราย  สร้างความโศกเศร้าเสียใจและหดหู่อย่างมากให้กับบรรดาญาติและคนที่ได้ทราบข่าว เเละทำให้หลายคนนึกย้อนไปถึงเหตุ เพลิงไหม้ "ซานติก้าผับ" เมื่อคืนวันที่ 31 ธ.ค. 2551 คืนเคาท์ดาวน์เข้าสู่ปีใหม่ 1 มกราคม พ.ศ.2552

สำหรับเมาท์เทน บี ( MOUNTAIN B ) ไฟไหม้ในครั้งนี้ นักท่องเที่ยวระบุว่า ทางเข้าออกคับแคบ ช่วงเกิดเหตุนักท่องเที่ยวหนีออกมายากลำบาก เมื่อเพลิงลุกไหม้ด้านในจึงทำให้นักเที่ยวต้องยอมโดนแผ่นโฟมที่ละลายตรงทางเข้าหยดใส่ร่างกายลุกติดไฟสาหัส

 

เหตุการณ์ไฟไหม้เมาท์เทน บี ( MOUNTAIN B ) ทำให้หลายคนย้อนไปดูเหตุการณ์เมื่อครั้งที่เกิดไฟไหม้ “ซานติก้าผับ” ส่งท้ายปี พ.ศ.2551 เพื่อเป็นอุทธาหรณ์ให้กับสังคม และนักเที่ยว รวมถึงผู้ประกอบการสถานบันเทิง

ซานติก้าผับไฟไหม้ เกิดขึ้นเมื่อคืนวันที่ 31 ธ.ค. 2551 คืนเคาท์ดาวน์เข้าสู่ปีใหม่ 1 มกราคม พ.ศ.2552 หลักฐานจากกล้องที่ตกอยู่ในที่เกิดเหตุ บันทึกภาพหลังจบการแสดงของวงดนตรี ก่อนที่สเปเชียลเอฟเฟกต์จะถูกจุดขึ้นกลางเวที ในตอนนั้นที่นักร้องคนใหม่เดินเข้ามา ก่อนที่จะเกิดเพลิงไหม้ขึ้น ซึ่งภาพดังกล่าวเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าเพลิงที่ไหม้ซานติก้าผับ แท้จริงแล้วเกิดจากสเปเชียลเอฟเฟกต์ของเวที ซึ่งเกิดจากระบบไฟฟ้า

จากนั้นไฟฟ้าในอาคารได้ดับลง เพลิงลุกไหม้จากบริเวณชั้นสอง ทำให้โครงสร้างถล่มลงมา เพราะภายในผับมีวัตถุไวไฟ อาทิ ผนังโฟม สุรา ฯลฯ นักท่องเที่ยวพยายามหนีออกมาทางประตูด้านหน้า ซึ่งมีขนาดเพียง 2.5 เมตรครึ่ง โดยที่ไม่ทราบว่ามีทางออกอื่น  ท่ามกลางความแตกตื่นของนักเที่ยวที่พยายามหนีเอาตัวรอดอย่างชุลมุน หลังเพลิงสงบ พบศพนักท่องเที่ยวหลายสิบคนที่ล้มทับกันบริเวณหน้าตรงประตูทางออก มีผู้เสียชีวิตถึง 67 ราย บาดเจ็บสาหัส 45 คนบาดเจ็บอีก 72 คน

การตรวจสอบพบว่า ซานติก้า ไม่มีแบบแปลน แผนผังอาคารติดตั้งแสดงไว้ ไม่มีป้ายบอกเส้นทางหนีไฟ ไม่ติดตั้งไฟฉุกเฉินให้มีพอส่องสว่าง ประตูหนีไฟของสถานบันเทิงแห่งนี้ มีแค่ 2 ทาง  ติดเหล็กดัดจากด้านนอกอย่างหนาแน่น ทำให้มีทางหนีไฟไม่เพียงพอต่อนักท่องเที่ยว  ที่สำคัญอาคารมีพื้นที่สามารถจุคนได้ไม่เกิน จำนวน 500 คน แต่ขณะเกิดเหตุมีนักเที่ยวเข้าไปใช้บริการมากกว่า 1,000 คน  เป็นเหตุให้มีการฟ้องร้องจากผู้ที่ได้รับความเสียหายทั้งทางแพ่ง และทางอาญา รวมหลายคดี

ศาลฎีกามีคำสั่ง จำคุก นาย วิสุข เสร็จสวัสดิ์ ผู้บริหารซานติก้าผับ 3 ปี จากการกระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย รวมถึงนายบุญชู เหล่าสีนาท กก.บริษัทโฟกัสไลท์ฯ ติดเอฟเฟกต์พร้อมให้ บริษัทติดตั้งเอฟเฟกต์ ชดใช้เงินญาติคนตาย ผู้บาดเจ็บกว่า 5 ล้าน

จึงเกิดการตั้งคำถามเกี่ยวกับมาตรการดูแล และมาตรฐานการสถานบันเทิง รวมถึงสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ที่ต้องผ่านการรับรองโดยตรงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขณะที่คำสั่งศาลระบุว่า พื้นที่ของซานติก้า สามารถจุคนได้เพียง 500 คนเท่านั้น แต่ในวันเกิดเหตุกลับมีคนเข้าไปสูงถึง 1,200 คน อีกทั้งยังไม่มีป้ายบอกทางหนีไฟ ระบบแจ้งเตือนไฟไหม้ และไม่มีระบบดับเพลิงอัตโนมัติ จากเหตุการณ์สะเทือนขวัญส่งท้ายปี "ซานติก้าผับ" ถูกยกมาเป็นอุทาหรณ์ทุกครั้งเมื่อใกล้เทศกาลปีใหม่ หรือแม้แต่การที่นักท่องเที่ยวเข้าไปใช้บริการสถานบันเทิงต่างๆ รวมทั้งผู้ประกอบการสถานบันเทิง เพื่อความปลอดภัย จะได้ไม่เกิดความสูญเสียตามมา จนกระทั่งในวันนี้ที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ "เมาท์เทน บี" ที่คร่าชีวิตนักเที่ยวจำนวนมาก

 

ทั้งนี้เครือข่ายสื่อมวลชนจังหวัดหนองคาย ได้สำรวจสถานบันเทิงในพื้นที่จังหวัดหนองคายพบว่าส่วนใหญ่เกือบ 90% ไม่มีป้ายบอกทางหนีไฟ ระบบแจ้งเตือนไฟไหม้ และไม่มีระบบดับเพลิงอัตโนมัติ และทางหนีไฟบางแห่งมีทางออกเพียงทางเดียวคือทางเข้าเท่านั้น และเมื่อตรวจสอบลงไปมากกว่านั้นพบว่าสถานบันเทิงหลายแห่งมีเพียงใบอนุญาตขายเหล้า แต่ไม่มีใบอนุญาตสถานประกอบการ รวมถึงการเปิดเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นคำถามว่าเหตุใดถึงเปิดได้โดยไม่มีการดำเนินการตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดหนองคาย หากเกิดเหตุการณ์ขึ้นเหมือนที่ จ.ชลบุรี และ กทม. ใครจะรับผิดชอบ.

 

กลับ กลับหน้าหลัก



ติดต่อเรา

Copyright © 2016 nongkhainewsonline : ข่าวออนไลน์หนองคาย