กลุ่มงานศัลยกรรมและกลุ่มงานการพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลหนองคาย จึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก (Minimal Invasive Surgery)และการผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยภาวะน้ำหนักเกิน (Bariatric Surgery)ขึ้น ในวันที่ 16-17 มิถุนายน 2565 พร้อมเปิดศูนย์การผ่าตัดแบบแผลเล็กผ่านกล้องและศูนย์การผ่าตัดโรคตุ้ยพี

กลุ่มงานศัลยกรรมและกลุ่มงานการพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลหนองคาย จึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก (Minimal Invasive Surgery)และการผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยภาวะน้ำหนักเกิน (Bariatric Surgery)ขึ้น ในวันที่ 16-17 มิถุนายน 2565 พร้อมเปิดศูนย์การผ่าตัดแบบแผลเล็กผ่านกล้องและศูนย์การผ่าตัดโรคตุ้ยพี

วันนี้ (16 มิ.ย. 65) ที่ห้องประชุมชื่น ระวิวรรณ โรงพยาบาลหนองคาย นายแพทย์ชวมัย สืบนุการณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองคาย เป็นประธานในพิธีเปิดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก (Minimal Invasive Surgery)และการผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยภาวะน้ำหนักเกิน (Bariatric Surgery) ที่กลุ่มงานศัลยกรรมและกลุ่มงานการพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลหนองคาย จัดให้มีขึ้น พร้อมกันนี้ยังได้เปิดศูนย์การผ่าตัดแบบแผลเล็กผ่านกล้องและศูนย์การผ่าตัดโรคตุ้ยพีขึ้น  ที่โรงพยาบาลหนองคาย พร้อมจัดให้มีการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนอีกด้วย

 

นายแพทย์จารุวัฒน์  แจ้งวัง ผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ กลุ่มภารกิจด้านบริการปฐมภูมิคนที่ 1  กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลหนองคาย กล่าวว่า จากการศึกษาข้อมูลทางวิชาการในประเทศไทยและต่างประเทศ   พบว่าการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก ได้ประโยชน์ ทั้งต่อผู้ป่วยและโรงพยาบาลเช่น ลดความปวด ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล ผู้ป่วยสามารถกลับไปดำรงชีวิตตามปกติได้รวดเร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง ซึ่งโรงพยาบาลหนองคายได้เริ่มการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็กตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 เป็นต้นมา ได้พัฒนาการบริการผ่าตัดเพิ่มมากขึ้น เช่น ผ่าตัดลำไส้และกระเพาะอาหารในผู้ป่วยโรคมะเร็ง การผ่าตัดตับและทางเดินน้ำดี (Laparoscopic Whipple Operation) และพัฒนาต่อยอดการผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกิน (Morbid Obesity) ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีโรคร่วม เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะหยุดหายใจระหว่างนอนหลับ จากการศึกษาที่ผ่านมาทำให้ทราบว่าการผ่าตัดลดน้ำหนัก (Bariatric Surgery) ช่วยให้ผู้ป่วยมีน้ำหนักและดัชนีมวลกายลดลงแล้วยังส่งผลให้โรคร่วมที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นไปในแนวทางที่ดีขึ้น

 

ดังนั้นกลุ่มงานศัลยกรรมและกลุ่มงานการพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลหนองคาย จึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก (Minimal Invasive Surgery)และการผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยภาวะน้ำหนักเกิน (Bariatric Surgery)ขึ้น ในวันที่ 16-17 มิถุนายน 2565 โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ นพ.ปรีดา สัมฤทธิ์ประดิษฐ์  ศัลยแพทย์จากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มาเป็นวิทยากรในการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้  เพื่อให้แพทย์และพยาบาลที่เข้าร่วมประชุม ได้รับความรู้ และวิชาการใหม่ ๆ รวมถึงเทคนิควิธีการในการผ่าตัด นำความรู้ที่ได้มาปรับปรุงพัฒนาหรือประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยต่อไป นอกจากนี้ทางกลุ่มงานศัลยกรรม ได้จัดตั้งศูนย์การผ่าตัดแบบแผลเล็กผ่านกล้องและศูนย์การผ่าตัดโรคตุ้ยพีขึ้น  ที่โรงพยาบาลหนองคาย  ถือได้ว่าเป็นศูนย์การผ่าตัดโรคตุ้ยพีแห่งแรกในเขตสุขภาพที่ 8 และยังเป็นการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศด้าน MIS & Bariatric Surgery ในระดับเขตสุขภาพที่ 8 และระดับประเทศต่อไป

นายแพทย์ชวมัย สืบนุการณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองคาย กล่าวว่าขณะนี้ทางโรงพยาบาลหนองคาย มีโครงการผ่าตัดกระเพาะอาหาร โดยมีเป้าประสงค์เพื่อลดน้ำหนักของผู้ป่วย เนื่องจากการมีน้ำหนักมาก 90 – 100 กก.ขึ้นไปมีผลต่อสุขภาพร่างกายโดยรวม ซึ่งวัตถุประสงค์ของการผ่าตัดอีกอย่างหนึ่งคือ จะลดปริมาณหรือปริมาตรของกระเพาะอาหารลง รวมไปถึงลดฮอร์โมนในกระเพาะอาหารที่จะไปกระตุ้นความอยาก โดยโรงพยาบาลหนองคาย ได้เชิญอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถ รวมทั้งมีเทคนิคประสบการณ์มาใช้ในการผ่าตัด รวมไปถึงเครื่องมือที่ทันสมัย คือเป็นการผ่าตัดผ่านกล้อง ศักยภาพของโรงพยาบาลหนองคายเองก็สามารถผ่าตัดผ่านกล้องได้แล้ว ขณะนี้ในภาคอีสานตอนล่างที่มีการผ่าตัดกระเพาะอาหาร คือโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา ภาคอีสานตอนกลาง คือโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น ส่วนภาคอีสานตอนบนนี้ โรงพยาบาลหนองคายเองก็มีความสามารถให้บริการกับประชาชนในด้านนี้

ทางด้านผู้ที่ผ่านการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักมาแล้ว กล่าวว่า เคยใช้วิธีลดน้ำหนักมาหลายอย่างแต่ก็ไม่ได้ผล ช่วงที่มีน้ำหนักมากจะเหนื่อยหอบ การออกกำลังกายก็ไม่สามารถทำได้เพราะเหนื่อยมาก แต่หลังได้รับการผ่าตัดกระเพาะอาหารฯแล้วพบว่ากระบวนการผ่าตัดไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ต้องยอมรับว่าเป็นกระบวนการทางแพทย์ที่ทันสมัย แผลผ่าตัดเล็กมาก ระยะเวลาพักฟื้นตัวแค่ 3 วัน และที่ประทับใจคือได้สุขภาพที่ดีขึ้น หลังได้รับการผ่าตัดเป็นระยะเวลา 1 เดือน 10 น้ำหนักลดลงประมาณ 16 กก. อาการนอนกรนหายไป สามารถเดินได้ไกลขึ้น อาการเหนื่อยและการทำกิจกรรมต่าง ๆ กับคนอื่นทำได้ดีขึ้น ที่สำคัญสุขาภาพจิตดีขึ้นมากด้วย.

 

กลับ กลับหน้าหลัก



ติดต่อเรา

Copyright © 2016 nongkhainewsonline : ข่าวออนไลน์หนองคาย