มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วม สมาคมเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน และ ผู้นำชุมชน ต.เวียงคุก อ.เมืองหนองคาย จัดเวทีชุมชนดำเนินการวิจัย ออกแบบนโยบายเพื่อเตรียมพร้อมรับมือแม่น้ำโขงท่วมฉับพลัน

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วม สมาคมเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน และ ผู้นำชุมชน ต.เวียงคุก อ.เมืองหนองคาย จัดเวทีชุมชนดำเนินการวิจัย ออกแบบนโยบายเพื่อเตรียมพร้อมรับมือแม่น้ำโขงท่วมฉับพลัน

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2563 ผศ.วชิรวัตติ์ อาริยะสิริโชติ อาจารย์วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับ นางอ้อมบุญ ทิพย์สุนา นายกสมาคมเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน และ ผู้นำชุมชน ต.เวียงคุก อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย จัดเวทีชุมชนดำเนินการวิจัย ออกแบบนโยบายเพื่อเตรียมพร้อมรับมือแม่น้ำโขงท่วมฉับพลัน โดยการเริ่มขับเคลื่อนแผนชุมชนต้นแบบเตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมฉับพลัน ต.เวียงคุก อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย โดย ภาคส่วนสำคัญ คือ วิชาการ การพัฒนา ร่วมกับ ภาคประชาชน เพื่อการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติแม่น้ำโขง 

 

ผศ.วชิรวัตติ์ อาริยะสิริโชติ กล่าวว่า ผู้นำชุมชนริมแม่น้ำโขงประสพปัญหากับแม่น้ำโขงผันผวนไม่เป็นไปตามฤดูกาล หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก และการก่อสร้างเขื่อนกั้นน้ำโขงในประเทศต้นน้ำ ส่งผลให้ชุมชนไม่สามารถจัดการรับมือได้ทัน  การพูดคุยวันนี้ได้มีการทบทวนสถานการณ์น้ำท่วมที่ส่งผลกระทบกับชุมชนจากอดีตถึงปัจจุบัน และมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่สถาบันวิชาการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องร่วมมือและช่วยเหลือชุมชนริมโขงในการออกแบบ จัดทำแผนทั้งการป้องกัน แผนเผชิญภัยพิบัติ และแผนฟื้นฟูชุมชนหลังเกิดภัยพิบัติ ต่อไป

 

ส่วนนางอ้อมบุญ ทิพย์สุนา กล่าวว่า การเตรียมพร้อมของชุมชน เป็นเรื่องสำคัญ สิ่งที่ผู้นำตำบลเวียงคุกนำเสนอ เป็นเรื่องที่มีประโยชน์ เนื่องจากเป็นการใช้หลักป้องกัน และหากเกิดเหตุจริงจะบรรเทาผลกระทบได้มาก  ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำผังชุมชนระบุกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มเปราะบาง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง เพื่อการช่วยเหลือที่ทันท่วงที การเตรียมเรือ อุปกรณ์การขนย้าย การจัดทีมงานประชาสัมพันธ์ การสื่อสารที่รวดเร็ว และที่สำคัญต้องมีการฝึกซ้อมจริง ภายใต้การออกแบบวางแผนร่วมกันของชุมชนกับหน่วยงาน

ส่วนนางระเบียบ สาวิเสน กำนันตำบลเวียงคุก กล่าวว่า หลังการปรึกษาหารือครั้งนี้ จะชักชวนผู้นำทุกหมู่บ้าน จัดเตรียมข้อมูลผังชุมชน และออกแบบการจัดการภายในชุมชนต่อไป และสิ่งที่จำเป็นเบื้องต้นที่หน่วยงานควรสนับสนุนคือ ข้อมูลความเสี่ยงและการเตือนภัยที่รวดเร็ว.

 

กลับ กลับหน้าหลัก



ติดต่อเรา

Copyright © 2016 nongkhainewsonline : ข่าวออนไลน์หนองคาย