เมื่อ “แบตเตอรี่แห่งเอเชีย” ประชาชนต้องจ่ายค่าไฟแพง เหตุไฟฟ้าลาว บ่แม่นเจ้าของเขื่อน ความจริงอีกด้านที่ชาวลาวควรรู้

เมื่อ “แบตเตอรี่แห่งเอเชีย” ประชาชนต้องจ่ายค่าไฟแพง เหตุไฟฟ้าลาว บ่แม่นเจ้าของเขื่อน ความจริงอีกด้านที่ชาวลาวควรรู้

เพจ “เป็นเรื่อง เป็นลาว” ได้เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจว่า เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2563 ที่ผ่านมา มีการเสวนาเรื่องราคาไฟฟ้า และไฟฟ้าลาว (ปี 2564-2568) ที่ห้องประชุมคณะเศรษฐศาสตร์ และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ

การเสวนาครั้งนี้ ได้ทำให้ผู้เข้าใจ และรู้ถึงสภาพการณ์ของการไฟฟ้าลาว โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า “ประเทศลาว มีแหล่งพลังงานไฟฟ้าหลายแห่ง จนได้รับการขนานนามว่า เป็นหม้อไฟอาเซียน ทำไมจึงต้องได้จ่ายค่าไฟฟ้าแพง” นั้น ก็เนื่องจากว่า ปัจจุบันรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว รับไฟจากแหล่งผลิตทั้งหมด 87 แห่ง

ที่น่าสนใจคือ รสก.ไฟฟ้าลาว รับไฟจาก 87 แห่ง ในนั้นแยกเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าในลาว 78 แห่ง (รวมเขื่อน โรงไฟฟ้าถ่านหิน และพลังงานอื่นๆ) ส่วนแหล่งไฟฟ้าอีก 10 แห่งนั้น รสก.ไฟฟ้าลาว รับมาจากเขื่อนไฟฟ้าที่อยู่ในไทย และเวียดนาม เหนืออื่นใด แหล่งผลิตไฟฟ้า 78 แห่ง ส่วนใหญ่มาจากนักลงทุนภาคเอกชน และนักลงทุนจากต่างประเทศ เขื่อนไฟฟ้า ที่เป็นของ รสก.ไฟฟ้าลาว มีเพียง 8 แห่ง และเป็นเขื่อนขนาดเล็ก นั่นก็หมายความว่า รสก.ไฟฟ้าลาว ต้องซื้อไฟจากแหล่งผลิตต่างๆ มากกว่า 90%

 

กรณีเกิดภัยแล้ง เขื่อนไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ รสก.ไฟฟ้าลาว ต้องได้ซื้อไฟจากต่างประเทศ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการในประเทศ การคิดอัตราค่าไฟฟ้า จึงอิงใส่ตามสภาพเศรษฐกิจ-สังคม และรายได้ตัวจริงของชาวบ้าน จึงกำหนดราคาค่าไฟฟ้า มีลักษณะเกื้อกูล ด้วยเหตุนี้ รสก.ไฟฟ้าลาว ต้องแบกภาระด้านต้นทุน และการขาดทุน โดยไฟฟ้าลาว มีหนี้สินลากยาวมาเกือบ 10 ปีแล้ว

 

ไม่ว่าจะมีหนี้สินมากน้อยเพียงใด ไฟฟ้าลาวมีภารกิจเพื่อประชาชนลาว ต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้มีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน แม้ไฟฟ้าลาว จะไม่ได้เป็นเจ้าของเขื่อนไฟฟ้าโดยส่วนใหญ่ แต่มีแนวโน้มดีขึ้น เริ่มตั้งแต่ปี 2573 มีเขื่อนไฟฟ้าครบสัญญาสัมปทานจะตกเป็นของรัฐจำนวนหนึ่ง และในปี 2578 ก็จะได้เขื่อนคืนมาอีก อาจจะทำให้ค่าไฟฟ้าถูกลง.

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

หนังสือพิมพ์ประชาชนลาว

รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว

เพจ เป็นเรื่อง เป็นลาว

กลับ กลับหน้าหลัก



ติดต่อเรา

Copyright © 2016 nongkhainewsonline : ข่าวออนไลน์หนองคาย